ประเพณีวัฒนธรรม

วิวาห์บาบ๋า ภูเก็ต 58


งานแต่งงานแบบภูเก็ตที่เรียกว่า “พิธีวิวาห์บาบ๋า ภูเก็ต” ที่จัดโดย สมาคมเพอรานากัน ร่วมกับ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สนง.ภูเก็ต สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดภูเก็ต เทศบาลนครภูเก็ต สมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวภูเก็ต หอการค้าภูเก็ต มูลนิธิเมืองเก่าภูเก็ต ถึอได้ว่าเป็นงานประจำปีของจังหวัดภูเก็ตไปแล้วเพราะได้จัดติดต่อกันมาหลายปี สำหรับปีนี้ก็เช่นกันได้มีการจัดงานที่ผ่านมาระหว่างวันที่ 20-21 มิถุนายน 2558 มีคู่แต่งงานร่วมงาน 6 คู่ด้วยกัน

วิวาห์บาบ๋าถือเป็นประเพณีที่มีสีสันงดงาม เป็นเรื่องน่ายินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้ถูกรื้อฟื้นขึ้นมา โดยองค์กรท้องถิ่นคนภูเก็ต เพื่อเป็นการสืบสานวัฒนธรรม ประเพณี อันดีงามสืบทอดถึงลูกหลานชาวบาบ๋าในภูเก็ต ในวันงานชาวภูเก็ตจะแต่งกายด้วยชุดพื้นเมืองภูเก็ตแบบบาบ๋า จะเห็นผู้หญิงจะนุ่งผ้าถุง ใส่เสื้อลูกไม้ ประดับด้วยเครื่องประดับแบบบาบ๋า ผู้ชายก็จะแต่งชุดนายเหมือง ดูมีสีสันเป็นอย่างมาก

มาทำความรู้จัก บาบ๋า-ย่าหยา หรือ พารานากันกัน

เปอรานากัน (มลายู: Peranakan) หรือ บาบ๋า-ย่าหยา (อังกฤษ: Baba-Nyonya, จีน: 峇峇娘惹, พินอิน: Bābā Niángrě, ฮกเกี้ยน: Bā-bā Niû-liá) คือกลุ่มลูกครึ่งมลายู-จีนที่มีวัฒนธรรมผสมผสาน และสร้างวัฒนธรรมแบบใหม่ขึ้นมาโดยเป็นการนำเอาส่วนดีระหว่างจีน และมลายูมารวมกัน โดยชื่อ “เปอรานากัน” มีความหมายว่า “เกิดที่นี่”

พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 นิยาม “บาบ๋า” และ “ย่าหยา” ว่า “เรียก ชายที่เป็นลูกครึ่งจีนกับมลายูที่เกิดในมลายูและอินโดนีเซีย ว่า บ้าบ๋า, คู่กับ ย่าหยา ซึ่งหมายถึงหญิงลูกครึ่งจีนกับมลายูที่เกิดใน มลายูและอินโดนีเซีย.” อย่างไรก็ตามชาวเปอรานากันในประเทศไทย บริเวณจังหวัดชายฝั่งทะเลอันดามันโดยเฉพาะภูเก็ตและตรังทั้งเพศชายและหญิง จะถูกเรียกรวม ๆ ว่า บ้าบ๋า หรือบาบา ส่วน ย่าหยา เป็นเพียงชื่อของชุดสตรีเท่านั้น – ข้อมูลอ้างอิงจาก WikiPedia (สามารถดูเพิ่มเติ่มเกี่ยวกับชาวเพอรานากันได้ที่ http://th.wikipedia.org/wiki/เปอรานากัน )

สำหรับ บาบ๋า ย่าหยาภูเก็ต ลูกผสมที่เกิด จากพ่อเป็นชาวจีนกับแม่ที่เป็นคนท้องถิ่น ซึ่งสมัยก่อนคนภูเก็ตจะแต่งงานกับชาวจีน ฮกเกี้ยน ที่เข้ามาทำเหมืองแร่ดีบุก ติดต่อค้าขายเมื่อสมัยก่อน ทำให้คนภูเก็ตส่วนใหญ่จะมีเชื้อสายจีนฮกเกี้ยน ได้รับขนบธรรมเนียมประเพณี อาหารการกินแบบ บาบ๋า จนถึงปัจจุบัน

สำหรับงาน วิวาห์บาบ๋า ภูเก็ต 58 ก็เช่นเคยจะทำพีธีที่บ้านหงษ์หยก บ้านคหบดีเก่าแก่ของภูเก็ต ซึ่งสถานที่แห่งนี้ใช้จัดงานพิธียกน้ำชาตามแบบฉบับของพิธีแต่งงานแบบบาบ๋าทุกปี

babawedding58-01
บรรยากาศภายในบ้านหงษ์หยก ที่ใช้ประกอบพิธียกน้ำชา หรือ “ผ่างเต๋”
babawedding58-12
babawedding58-13

สิ่งที่ขาดไม่ได้เลยก็คือ “โต๊ะไหว้เทวดาฟ้าดิน” หรือ ถี่ก้ง จะประกอบไปด้วย ขนมมงคลอาทิอังกู้(ขนมเต่า) ฮวดโก๊ย ขนมชั้น 9 ชั้น ผลไม้อันมีความหมายอันเป็นมงคล หง่อเส้ง(ของคาวห้าอย่าง) จัดโต๊ะตามแบบฉบับโบราณของประเพณีบาบ๋า
babawedding58-02
อังกู้(ขนมเต่า) สีแดงที่ขาดไม่ได้เลย
babawedding58-03
ฮวดโก๊ย หรือ ขนมถ้วยฟู่ หมายถึงความเจริญรุ่งเรือง
babawedding58-04
babawedding58-05
ช่วงเช้าคู่บ่าวสาวจะแต่งหน้า ทำผมและแต่งตัวกันที่ สุโขสปา รีสอร์ท
babawedding58-06
คุณแม่แดง บ้านชินประชาภูเก็ต เป็นผู้เชียวชาญในเรื่องเครื่องแต่งกายแบบบาบ๋าภูเก็ตเป็นคนดูแลเรื่องเครื่องแต่งกายของคู่บาวสาวในงานนี้
babawedding58-07
babawedding58-08
บ่าวสาวคู่นี้แต่งตัวตามแบบฉบับ บาบ๋า ภูเก็ต ดูสวยงามมากเจ้าสาวเป็นชาวเกาหลี ส่วนเจ้าบ่าวเป็นคนไทยลูกหลานชาวภูเก็ตแท้ๆ
babawedding58-09
babawedding58-10
babawedding58-11
babawedding54
คุณณรงค์ หงษ์หยก กับ คุณเยาวลักษณ์ หงษ์หยก เจ้าของบ้านแห่งนี้
babawedding51
“อึ่มหลาง” (แม่สื่อ) ผู้ทำหน้าที่นี้จะต้องเป็นผู้มีวาทศิลป์ในการพูด โน้มน้าวจิตใจให้เกิดการยอมรับทั้งสองฝ่าย ทั้งนี้อึ่มหลางถือว่าเป็นผู้ที่มีบทบาทและมีความสำค ัญมากกว่าเป็นเพียงแค่ แม่สื่อเท่านั้น เพราะอึ๋มหลางนอกจากจะแนะนำสองครอบครัวให้รู้จักและย อมรับกันแล้ว อึ๋มหลางจะคอยสอนขนบธรรมเนียมประเพณีที่ถูกต้องในการ ปฏิบัติตน การจัดพิธี การรู้จักสัมมาคารวะ ไปจนกระทั่งแนะนำการครองเรือน จะสังเกตุเห็นว่า อึ่มหลางจะถือตระกร้าไม้ ที่เรียกว่า “เสี่ยหนา” หรือ ตระกร้าสานด้วยไม้ทาสีแดงกับดำ ในการหมั้น ในเสี่ยหนามี ขนมหวาน ได้แก่ ขนมถั่ว ๑๒ ชิ้น และน้ำตาล (ถั่ว หมายถึง ความเจริญงอกงาม)(น้ำตาล หมายถึง ความหวาน)
babawedding58-29
babawedding58-26-1
อึ่มหลางจะถือตระกร้าไม้ ที่เรียกว่า “เสี่ยหนา”
babawedding58-26
babawedding58-14
babawedding58-15
ก่อนที่จะเข้าประตูไปรับเจ้าสาวในบ้าน “อึ่มหลาง” (แม่สื่อ) ต้องพาเจ้าบ่าวเข้าโดยจะต้องมีการเจรจาต่อรองแจกซองอั่งเปา โดยจะมีการแลกกับ บุหรี่ 2 ตัว
babawedding58-17
babawedding58-16

babawedding58-18
พิธีไหว้เทวดา
babawedding58-19
babawedding58-20
babawedding58-21
babawedding58-22
“ผ่างเต๋” เป็นพิธีที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งของ พิธีแต่งงานบาบ๋า คือการไหว้ญาติผู้ใหญ่ทั้งสองฝ่ายด้วยการรินน้ำชาให้ดื่ม แล้วท่านรับไหว้ด้วยการมอบ “อั่งเปา” ซึ่งจะมีเงินหรือทองอยู่ในซองสีแดงนั้น
babawedding58-23
babawedding58-24
babawedding58-25
babawedding53
คณะผู้บริหารที่ร่วมจัดงาน นางสาวสมใจ สุรรณศุภพนา นายกเทศมนตรีนครภูเก็ต และ นางสาวอโนมา วงษ์ใหญ่ ผู้อำนวยการ ททท.สำนักงานภูเก็ต
babawedding58-27
babawedding58-28
วง”ตีต่อตีเฉ้ง” การจัดงานแต่งงานถือเป็นงานมงคลสำคัญในชีวิตของเจ้าบ่าวเจ้าสาว และชายภูเก็ตถือว่าการที่สามารถเลี้ยงลูกจนได้แต่งงาน ถือเป็นความสำคัญของพ่อแม่ อย่างหนึ่ง ฉะนั้นถ้าบ้านลูกสาวได้แต่งงานต้องประกาศให้ทุกคนได้รับรู้ โดยใช้คณะดนตรีจึนนำหน้าขบวนแห่ คนทั่วไปเมื่อได้ยินเสียงจะวิ่งมาดู ชาวภูเก็ตจะเลียนเสียงดนตรีจีนประกอบงานมงคลสมรสว่า “ตีต่อตีเฉ้ง” คำนี้จึงเป็นคำใช้เฉพาะงานแต่งงาน อาจจะเป็นข้อต่อรองอย่างหนึ่งของฝ่ายเจ้าสาว คือเจ้าบ่าวมีเงินจะจ้างวงดนตรีมานำหน้าเจ้าสาวหรือไม่ ถ้าไม่มีอาจจะไม่ตกลงก็ได้. (ข้อมูลจากหนังสือวิวาห์บาบ๋าภูเก็ต)
babawedding58-30
babawedding58-31
babawedding58-32
หลังจากเสร็จพิธีการที่บ้านหงษ์หยกแล้วจะมีการตั้งขบวนแห่ เดินไปตามถนนถลางจนไปถึงพิพิธภัณฑ์ไทยหัว
babawedding58-33
babawedding58-34
babawedding58-35
babawedding58-36
babawedding58-37
babawedding58-38
babawedding58-39
babawedding58-40
babawedding58-41
babawedding50
babawedding58-42
babawedding58-43
สุดท้ายนี้ผมในฐานะคนภูเก็ต และมีเชื้อสาย บาบ๋า อันน้อยนิด ขอขอบคุณ องค์กรต่างๆที่ร่วมจัดงานและรื้อฟื้น “วิวาห์บาบ๋าภูเก็ต” ครั้งนี้ ผมอยากเห็นงานนี้จัดกันทุกปีให้เป็นกิจกรรมประจำปีของจังหวัดภูเก็ต….แล้วเจอกัน วิวาห์บาบ๋าภูเก็ต ปีหน้าน่ะครับ

ใส่ความเห็น